Header Ads

ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่


คำว่า G ย่อมาจาก Generation (เจนเนอเร'เชิน) 

ระบบการทำงานของโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละ Generation
- 1G (Analog)
- 2G (Digital )
- 3G (Wireless)

 โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1 G
              ระบบ 1G ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบแอนะล็อก(Analog) คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้านเสียง(Voice) ได้อย่างเดียว คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน ข้อมูล(Data)ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่การรับ-ส่ง SMS (SMS คือบริการส่งข้อความสั้นๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยย่อมาจาก Short Message Service)ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G
              แต่จริงๆแล้ว ในยุคนั้น ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้ว โดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะใช้ในงานธุรกิจ
              และตัวผมเองก็เริ่มมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1G ส่วนตัวใช้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘ จำได้ว่าเพื่อความสะดวกในการทำงานราชการตอนที่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาทำหน้าที่ออกไปอบรมและติดตั้งเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมไทยคม  ตามสำนักงาน กศน.จังหวัด ทั่วประเทศ
 โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2 G
               หลังจากยุค 1G ก็ได้พัฒนาต่อมาเป็นยุค 2G ซึ่งเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบแอนะล็อก(Analog) มาเป็นการเข้ารหัสดิจิตอล(Digital) ส่งทางคลื่นความถี่ย่านไมโครเวฟ               (Microwave) ซึ่งในยุคนี้เองเป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้านข้อมูล(Data)ได้ เพิ่มเติมจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว ในยุค 2G นี้เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming
              ในยุคโทรศัพท์ 2G นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์  มือถือ  ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลง (กว่ายุค 1G) ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Download Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น
              หลังจากนั้น ก็เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G ซึ่งก็คือ 2.5G เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง ซึ่งตามหลักการแล้วเทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น
              และก่อนจะมาถึงยุค 3G เราก็ยังมี 2.75G ด้วย ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) นั่นเอง EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) ลักษณะการทำงานของ EDGE นั้นจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้น (แต่ว่า ยุค 2.75G ของ EDGE นั้น ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ เพียงแค่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบช่วงคาบเกี่ยวระหว่างยุค 2.5G และ 3G เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น)
 โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 G
              ต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นระบบ 3G หรือ Third Generation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้น เป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง
ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming ต่างๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว ... 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คุณ ภัทรพล คำสุวรรณ์

ไม่มีความคิดเห็น