Robot of the World
ความล้ำหน้าของหุ่นยนต์ยุคใหม่
หุ่นที่หน้าเหมือนคนที่สุดจากญี่ปุ่น
ชมหุ่นจากเมืองจีนกัน
"การผ่าตัดที่มีหุ่นยนต์ช่วย ทำให้การผ่าตัดสะดวดและรวดเร็วยิ่งขึ้น หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) ในรุ่นแรกๆนั้น จะมีเพียงแค่แขนกลบังคับกล้อง เพื่อช่วยการมองเห็นในการผ่าตัด รุ่นต่อมาจะมีทั้งแขนกล้องและแขนที่ทำงานคล้ายมือของคน ที่มีขนาดเล็กเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะช่วยทำให้การผ่าตัดมีความละเอียดมากขึ้น จนถึงรุ่นปัจจุบันได้มีการพัฒนาการมองเห็นเป็นแบบ ๓ มิติ และความละเอียดสูง (High Definition : HD) นอกจากนี้ยังสามารถทำการผ่าตัดไปพร้อมกับศัลยแพทย์ผู้ช่วยได้ โดยจะมี คันบังคับสำหรับแพทย์ ๒ คน สามารถช่วยกันทำผ่าตัด ซึ่งจะต่างจากรุ่นก่อนหน้านี้ที่ต้องทำคนเดียว และความละเอียดของภาพต่ำกว่า"
ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีระบบการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Surgery) ซึ่งเป็น"เทคโนโลยีที่ดีที่สุด" โดยมีการ มองเห็นภาพเป็นแบบความละเอียดสูง ๓ มิติ (3D High definition : 3D HD) และมี กำลังขยาย ๑๐ เท่า ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำขึ้นอย่างมาก ต่างจากการทำผ่าตัดโดยเครื่องรุ่นก่อน หรือการทำผ่าตัดส่องกล้องแบบไม่ใช้หุ่นยนต์ ทำให้ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์อย่างมากในการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดในที่แคบๆ และจะมีการเสียเลือดน้อยกว่า เนื่องจากมีความแม่นยำที่สูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเจ็บ และความบอบช้ำของแผลผ่าตัดน้อยกว่า
ชาวญี่ปุ่นสร้างหุ่นที่สั่งการได้ด้วยระบบของ iphone
เจ้า kuratas ยักษ์ 4 เมตร พกปืนไฟ เป็นได้ทั้งแม่บ้านและนักผจญเพลิง
kuratas จัดแสดงโชว์ที่ Wonder festival โตเกียว |
มันสูง 4 เมตร หนัก 4.5 ตันสามารถยิงกระสุนเม็ด 6000 ลูกต่อนาที ค่าตัวของมันอยู่ที่ 100M เยน เท่านั้น หรือ 816,000 ปอนด์ Kuratas อาจเป็นได้ทั้ง robomop (หุ่นแม่บ้าน)หรือ robocop(หุ่นสู้รบ) เลยทีเดียว
ขอขอบคุณคลิปจากยูทูปและภาพจากเวป mthai.com
หุ่นที่หน้าเหมือนคนที่สุดจากญี่ปุ่น
ชมหุ่นจากเมืองจีนกัน
หุ่นยนต์ ตีปิงปองที่งานอุตสาหกรรมนานาชาติเซียงไฮ้ |
nice to meet you หุ่นยนต์ทักทายที่งาน Photograph: Pei Xin/Xinhua Press/Corbis |
หุ่นใช้งานในอุตสาหกรรมแสดงการpaint ภาพที่ 2012 fair เซียงไฮ้ Photograph: Zhu Lan/ Xinhua Press/Corbis |
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก manager.co.th |
Robotic Surgery หรือ หุ่นยนต์ผ่าตัด เป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุดและมีคุณภาพสูงที่สุด มีในไทยเป็นเครื่องแรก ในการนี้ ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมด้วย รศ.นพ.เกรียงศักดิ์ ประสพสันติ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ และ รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา ร่วมแถลงข่าว "หุ่นยนต์ ผ่าตัด" ( Robotic Surgery ) เทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุด" เครื่องแรก ในประเทศไทย" ซึ่งมีสมรรถนะสูงสุดในปัจจุบัน
ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า "หุ่นยนต์ผ่าตัด" ( Robotic Surgery ) เครื่องนี้ นับเป็นเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน สามารถให้การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยได้สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถนำมาใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยหลายระบบ ได้แก่ ด้าน "ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ" ด้าน "ศัลยกรรมทั่วไป" ด้าน "ศัลยกรรมระบบลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก" และด้าน "สูตินรีเวช"
คณบดีฯ กล่าวต่อไปว่า การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์นั้นได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ โดยในระยะแรกๆของการศึกษาทดลอง ได้มีการผ่าตัดโดยการบังคับหุ่นยนต์ข้ามทวีป (Tele Robotic) ซึ่งประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาครั้งนั้นด้วย โดยการดำเนินงานผ่าน "หน่วยศัลยศาสตร์ ระบบปัสสาวะ" ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ John Hopkins Medical School ในปี 2540 ด้วยการดำเนินการโดยสั่งการผ่าตัดระยะไกลข้ามทวีป ระหว่างอเมริกา และประเทศไทย แต่หุ่นยนต์ผ่าตัดในช่วงแรกของการพัฒนานั้นใช้ระบบเสียงในการสั่งการยังมีข้อจำกัดอยู่ที่การจดจำเสียงของศัลยแพทย์
ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า "หุ่นยนต์ผ่าตัด" ( Robotic Surgery ) เครื่องนี้ นับเป็นเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน สามารถให้การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยได้สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถนำมาใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยหลายระบบ ได้แก่ ด้าน "ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ" ด้าน "ศัลยกรรมทั่วไป" ด้าน "ศัลยกรรมระบบลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก" และด้าน "สูตินรีเวช"
คณบดีฯ กล่าวต่อไปว่า การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์นั้นได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ โดยในระยะแรกๆของการศึกษาทดลอง ได้มีการผ่าตัดโดยการบังคับหุ่นยนต์ข้ามทวีป (Tele Robotic) ซึ่งประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาครั้งนั้นด้วย โดยการดำเนินงานผ่าน "หน่วยศัลยศาสตร์ ระบบปัสสาวะ" ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ John Hopkins Medical School ในปี 2540 ด้วยการดำเนินการโดยสั่งการผ่าตัดระยะไกลข้ามทวีป ระหว่างอเมริกา และประเทศไทย แต่หุ่นยนต์ผ่าตัดในช่วงแรกของการพัฒนานั้นใช้ระบบเสียงในการสั่งการยังมีข้อจำกัดอยู่ที่การจดจำเสียงของศัลยแพทย์
"การผ่าตัดที่มีหุ่นยนต์ช่วย ทำให้การผ่าตัดสะดวดและรวดเร็วยิ่งขึ้น หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic Surgery) ในรุ่นแรกๆนั้น จะมีเพียงแค่แขนกลบังคับกล้อง เพื่อช่วยการมองเห็นในการผ่าตัด รุ่นต่อมาจะมีทั้งแขนกล้องและแขนที่ทำงานคล้ายมือของคน ที่มีขนาดเล็กเพิ่มขึ้นมา ซึ่งจะช่วยทำให้การผ่าตัดมีความละเอียดมากขึ้น จนถึงรุ่นปัจจุบันได้มีการพัฒนาการมองเห็นเป็นแบบ ๓ มิติ และความละเอียดสูง (High Definition : HD) นอกจากนี้ยังสามารถทำการผ่าตัดไปพร้อมกับศัลยแพทย์ผู้ช่วยได้ โดยจะมี คันบังคับสำหรับแพทย์ ๒ คน สามารถช่วยกันทำผ่าตัด ซึ่งจะต่างจากรุ่นก่อนหน้านี้ที่ต้องทำคนเดียว และความละเอียดของภาพต่ำกว่า"
ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีระบบการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Surgery) ซึ่งเป็น"เทคโนโลยีที่ดีที่สุด" โดยมีการ มองเห็นภาพเป็นแบบความละเอียดสูง ๓ มิติ (3D High definition : 3D HD) และมี กำลังขยาย ๑๐ เท่า ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำขึ้นอย่างมาก ต่างจากการทำผ่าตัดโดยเครื่องรุ่นก่อน หรือการทำผ่าตัดส่องกล้องแบบไม่ใช้หุ่นยนต์ ทำให้ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์อย่างมากในการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดในที่แคบๆ และจะมีการเสียเลือดน้อยกว่า เนื่องจากมีความแม่นยำที่สูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเจ็บ และความบอบช้ำของแผลผ่าตัดน้อยกว่า
Post a Comment