Header Ads

Top10 Technology HI-Tech


ในปีที่แล้วผ่านไป จะเห็นว่ามีอะไรมากมายเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นมากมายทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ และการแข่งขัน รวมถึง กระแสตลาดที่มีผู้ใช้งาน Tablet มากขึ้น วันนี้ผมจะพา มาดูว่า Gartner เค้าวิเคราะห์เอาไว้ว่าในปีหน้า 2013 และอนาคตอันใกล้ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่เป็นกระแสและเทคโนโลยีใหม่ๆ บ้าง เพื่อที่จะเอาไปเตรียมตัววางแผนสำหรับกลุ่มธุรกิจ IT ต่างๆ มาดู 10 เทคโนโลยีและแทรนด์ใหม่ กันครับ ......
1. Mobile Device Battles

Gartner คาดว่าในปีหน้า Mobile Device และ Smartphone จะเข้ามาแทนที่ PC อย่างเต็มรูปแบบในการเข้าใช้งานเว็บไซด์ และในปี 2015 จะมีมากกว่า 80% ที่เป็น Smartphone ที่ขายออกไปในตลาดโลก ส่วนอีก 20% นั้น จะเป็นเครื่องที่มีการใช้งานทั่วๆ ไปเหหมือนกับ Windows Phone และตลาด Tablet ที่เห็นว่าโตขึ้นในปัจจุบัน ในปี 2015 จะมีการผลิตและขายไปทั่วโลกมากกว่า 50% ของจำนวน notebook หรือ laptop ส่วน Windows 8 จะขึ้นมาเป็นอันดับ 3 รองจาก Google และ Apple ในระดับองค์กรหรือ Enterprise จะต้องซัพพอร์ทการใช้งานบรรดาอุปกรณ์เหล่านี้เพิ่มมากขึ้น และลดในส่วนของ PC ลง อนาคต Windows ที่เป็น single platform จะถูกแทนที่ด้วย Mobile Device หลากหลายแพลตฟอร์ม แล้วแต่การใช้งานของคนในองค์กร แน่นอนว่างานนี้งานหนักของ IT Support และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บรรดาแผนงานที่เคยวางเอาไว้ที่จะหาซอฟท์แวร์จัดการระบบต่างๆ ก็ต้องคำนึงถึงการรองรับ mobile device เหล่านี้มากขึ้นตามไปด้วย และเตรียมตัวลด cost ที่ไม่จำเป็นที่จะใช้กับ single platform ได้แล้ว
2. Mobile Applications and HTML5
เครื่องมือในตลาดที่ใช้กับทั้ง consumer ผู้ใช้งานธรรมดา กับตลาดของ Enterprise หรือระดับองค์กร มีมากมายกว่า 100 แอพพลิเคชั่นที่เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจ และแน่นอนว่าไม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นแค่เพียงตัวเดียวให้รองรับการใช้งาน ต่างๆ ได้ทั้งหมด เพราะมีอยู่ 6 โครงสร้างสำหรับการพัฒนา mobile application ที่คาดว่าจะเป็นที่นิยม นั่นคือ native, special, hybrid, HTML 5, Message และ No client จะเห็นว่ามีให้เราพิจารณาตั้ง 6 แบบ อยู่ที่ว่าเราต้องเลือกอะไรให้เหมาะสมที่สุด แต่ในภาะวปัจจุบันและระยะยาว HTML 5 ดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ที่จะก้าวผ่านจาก native app ไปยัง web app และสุดท้าย HTML 5 จะเป็นตัวสุดท้ายที่ลงตัวที่สุด แต่ยังไงการพัฒนายน native app ก็ไม่ได้หายไปไหนและยังอยู่ให้ความสมบูรณ์ และประสบการณ์ที่ดีที่สุด กับผู้ใช้งาน ในขณะเดียวกันบรรดาผู้พัฒนาจะต้องการการพัฒนาด้านความสามารถด้านการออกแบบ คิดค้นให้เหมาะกับประสบการณ์การใช้งานแบบทัชสกรีนเต็มรูปแบบบน mobile application แน่นอนว่าไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องคำนึงถึงเรื่อง cross platform หรือ cross device ให้เหมาะกับทุกๆ การใช้งาน และเกาะติดกับกระแสของการใช้งานต่างๆ ของผู้ใช้ให้มากขึ้น เรียกว่าเป็นนักพัฒนาก็ไม่ใช่แค่เขียนแอพเก่ง ยังต้องมีไอเดีย ดีไซน์ให้เหมาะและอินเทรนด์กับกระแสโลกด้วย การพัฒนา mobile application จะว่าไปไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก หากจับทางถูก
3. Personal Cloud
คลาวด์แบบเฉพาะบุคคล หรือส่วนตัว จะเริ่มแทนที่ PC ตั้งโต๊ะ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ เอาไว้เฉพาะที่ซึ่งการที่จะใช้งานข้อมูล ต้องอาศัยการก๊อปปี้ผ่านอุปกรณ์มีเดียต่างๆ ซึ่งยุคดิจิตอลที่ผ่านคลาวด์จะเป็นการใช้งานข้อมูลต่างๆ ที่เก็บไว้ผ่านเว็บหรือแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ โดยไม่ได้จำเป็นว่าต้องเลือกใช้งานบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง ขอให้สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทได้ ก็จะสามารถใช้งานข้อมูลของตัวเองได้ทุกที่บนโลกใบนี้ เรียกว่า Personal Cloud เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของการเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง แทนที่การเข้าถึงข้อมูลแบบเดิมๆ ไปจนหมดสิ้น หากใครยังไม่เคยใช้งาน Personal Cloud ยกตัวอย่างเช่น Dropbox ที่คุ้นกันดีนั่นเอง แต่ถ้าเป็น Personal Cloud จริงๆ ข้อมูลต้องอยู่ที่เรา จะปลอดภัยกว่าอยู่กับผู้ให้บริการต่างๆ
4. Enterprise App Stores
ในระดับ Enterprise ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่นเช่นกัน บาง vendor จะมีข้อจำกัดการให้บริการกับ app store ของตัวเอง และจะถูกผลักดันให้ต้องดีลการใช้งานบน app store หลายๆที่เข้าไว้ด้วยกัน รวมถึง การชำระเงินและเรื่อง license อีกด้วย ที่จะถูกหลักดันให้ใช้จากหลายที่ โดยในอนาคตประมาณ 2014 Gartner เชื่อว่าหลายองค์กรหลายหน่วยงาน จะเริ่มเข้าสู่การใช้งาน private app store โดยองค์กรระดับ Enterprise ควรต้องวางแผนเรื่องนี้ให้มากขึ้น แต่ว่าในบ้านเราจริงๆ แล้วคงต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่หลังจากมีการใช้งานจริงแล้วในต่างประเทศ
5. The Internet of Things
IoT ตัวย่อของ The Internet of Things มันคืออินเตอร์เน็ทนั่นล่ะ แต่มันจะทำให้เราเข้าถึงได้โดยผ่านบรรดาอุปกรณ์มากมาย ที่ทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่ต้องการการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ททั้งนั้น ไม่จำเป็นอีกต่อไปว่าเราต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทต้องผ่าน mobile หรือ tablet แต่ไม่ว่าจะเป็นบรรดา อุปกรณ์พกพาอื่นๆ ที่มี image sensor หรือกล้องถ่ายภาพแบบดิจิตอล หรือที่มี image reconition และ NFC payment ก็เช่นเดียวกัน อุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทผ่าน cellular หรือเครือข่ายโทรศัพท์จะเกิดขึ้นมากมาย ผ่านไปยังอุตสาหากรรมของรถยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงบรรดาอุปกรณ์อื่นๆ ที่ฉลาดมากขึ้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถสื่อสารกันผ่าน NFC, Bluetooth, Wi-Fi ที่เพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้มากขึ้นเช่น wristwatch display, healthcare sensor, smart poster และ ระบบ home entertainment โดย IoT ยังจะนำพาบรรดาบริการและการใช้งานใหม่ๆ เข้ามาสู่ชีวิตเราอีกมากมายนับไม่ถ้วน Internet ยังไงก็ยังเป็นการตัวกลางในการเปิดโลกการเชื่อมต่อสื่อสารถึงกันไม่เปลี่ยนแปลง
6. Hybrid IT and Cloud Computing
อันนี้คงเกี่ยวกับบรรดาที่อยู่สายงาน IT ในองค์กรต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลง การใช้งานด้านต่างๆ ทำให้พนักงานที่อยู่ในสายงาน IT จำเป็นต้องรู้ในหลายๆ เรื่อง นอกจากงานที่รับผิดชอบ รวมถึง cloud computting ที่จะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน ทั้งในผู้ใช้งานในองค์กรเอง หรือกับบริษัทพาร์ทเนอร์ที่ติดต่อกันภายนอก cloud computting จะทำให้เกิดความต้องการหรือรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ ที่จะมาท้าทายคนสาย IT สรุปง่ายๆ คือ พนักงานสาย IT คนนึงต้องมีความรู้ความสามารถมากกว่าหน้าที่รับผิดชอบ และต้องเตรียมตัวรับกับความต้องการและรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามยุคตามสมัยนั่นเอง
7. Strategic Big Data
ข้อมูลขนาดใหญ่กำลังจะถูกมองผ่านไปจากเดิมที่เป็นโปรเจคแบบเดี่ยวๆ บน Enterprise ที่มองแต่ขนาดข้อมูล ก็เริ่มที่จะพิจาณาปัจจับอื่นๆ เพิ่มเติม ด้วย เช่น ความหลากหลายของข้อมูล ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความซับซ้อนของข้อมูล โดยองค์กรชั้นนำทจะยกเลิกการใช้ข้อมูล data warehouse แบบเดี่ยวๆ แต่จะตัดสินใจใช้งานข้อมูลในหลายระบบรวมกัน แน่นอนว่ารวมถึง content management, data warehosue, data marts และ specialized file systems รวบเข้ากับ data service และ metadata ซึ่งจะเป็น logic หรือองค์ประกอบในการพิจารณาของ data warehouse ในระดับ enterprise องค์กรในบ้านเราคงมีนับองค์กรได้ที่ลงทุนเกี่ยวและวางแผนเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่อนาคตขนาดของข้อมูล และความหลากหลายของข้อมูล ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบในการพิจารณา และวางแผนในองค์กรทั้งเล็กและใหญ่ ใครมีการจัดการและบริหารข้อมูลที่ดีกว่า ก็เป็นจุดที่ได้เปรียบทางธุรกิจ
8. Actionable Analytics
การวิเคราะห์การใช้งานของผู้ใช้จะเป็นจุดสำคัญที่จะปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายในองค์กร โดยหน่วยงาน IT จะต้องวิเคราะห์และจำลองทุกการใช้งานที่เกิดขึ้นในธุรกิจ จากการใช้งานด้าน mobile ของผู้ใช้งานเชื่อมต่อเข้ากับ การวิเคราะห์ผ่านคลาวด์ และข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานมากมายเกิดขึ้นในธุรกิจและองค์กร เพื่อจะได้เตรียมการรับมือและทำให้การใช้งานในทุกที่ทุกเวลามีประสิทธิภาพมากที่สุด และเมื่อเวลาการใช้งานจริงมาถึงจะได้ตัดสินใจได้ถูกที่ถูกเวลา ไม่เสียโอกาสทางธุรกิจ เรียกว่าหน่วยงาน IT คงต้องเตรียมตัวรองรับการใช้งานต่างๆ มากมาย ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องวิเคราะห์และจำลองการใช้งานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรและในธุรกิจ บางครั้งการปิดดีลใหญ่ๆ ได้ IT ก็มีส่วนช่วยไม่น้อยเพียงแต่อาจจะไม่ได้เห็นเป็นรูปธรรม เรียกว่าปิดทองหลังพระกันไป
9. In Memory Computing
IMC หรือ In Memory Computing จะให้เพิ่มโอกาสของการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ดังเช่นการลงมือทำโปรเซสต่างๆ ที่ใช้เวลาชั่วโมง ที่สามารถบีบให้เหลือเป็นนาที หรือจะเหลือเป็นวินาที ซึ่งจะเข้าใกล้การทำงานแบบ real-time หรือ ถึงขึ้น real-time กันจริงๆ ซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อการใช้งานบน cloud service กับผู้ใช้งานทั้งในองค์กรและนอกองค์กรด้วย มีเหตุการณ์ต่างๆ บนเน็ทเวิร์กเกิดขึ้นเป็นล้านๆ เหตุการณ์ในช่วงเวลาแค่ 1 ใน สิบ ของเสี่ยววินาทีเท่านั้น เรียกว่าเป็นเศษเสี้ยวของวินาทีของวินาที นั่นหมายถึงการตรวจสอบและวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไม่ง่ายเลย โดยในเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านั้นอาจจะมีบางอย่างที่สำคัญกับองค์กร หากพลาดไปอาจจะเกิดความเสียหายได้ ความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์ รวบรวม คำนวณ วางแผน และอื่นๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงเลี่ยงไม่ได้ว่า IMC มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ยิ่งมีการคำนวณในหน่วยความจำได้เร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสมากเท่านั้น เมื่อรู้ข้อมูลหรือวิเคราะห์เหตุการณ์ได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ซึ่งในอนาคตอีกสองหรือสามปีข้างหน้าจะเห็นผู้นำเสนอโซลูชั่นนี้มากขึ้น เรียกง่ายๆ ว่าการคำนวณยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งได้เปรียบมากเท่านั้น
10. Integrated Ecosystems
ในตลาดคงเลี่ยงไม่ได้ที่การรวมตัวของระบบ integrated system และ ecosystem นั้นถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการใช้งานของผู้ใช้ทั่วๆ ไป ที่ล้วนแล้วแต่ต้องการ ต้นทุนต่ำๆ จ่ายตังค์น้อย ใช้งานง่าย ปลอดภัย และอีกหลายความต้องการ ซึ่งฝั่งของผู้ขายที่มีความสามารถในการควบคุมการนำเสนอโซลูชั่นและระบบต้องการกำไรงามๆ และจะดีที่สุดเมื่อได้นำเสนอโซลูชั่นแบบเบ็ดเสร็จ ในทุกๆ ส่วนของโซลูชั่นนั้นๆ แต่นั่นปราศจากความต้องการทางด้าน hardware โดยเทรนด์แล้วจะมี 3 ระดับ คือ Appliance รวมกับ hardware และ software, software และ service และ infrastructure หรือ application workload เหล่านี้จะเป็นการนำเสนอโซลูชั่นในการใช้งานให้กับบรรดาหน่วยงาน IT จริงๆ ปัจจุบันก็มีการนำเสนอโซลูชั่นลักษณะนี้กันอยู่แล้ว และในส่วนของโลกแห่ง mobile บรรดา Apple, Google และ Microsoft ต่างก็นำเสนอโซลูชั่นในแบบฉบับของตัวเอง เพื่อที่จะควบคุมผ่านระบบทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันและ จากปลายทางถึงปลายทางบน ecosystems จนต่อเนื่องไปถึงเรื่อง client ผ่านแอพพลิเคชั่น ในวันนี้คงหลีกหนีไม่ได้ว่ารายใหญ่ทางฝั่ง mobile อย่าง Apple, Google, Microsoft ต่างก็ขับเคี่ยวกันทั้งฝั่ง client หรือ device และโซลูชั่นที่จะเข้ามาตอบรับในองค์กรทั้งนั้น หากจะเลือกใช้งานค่ายใดค่ายนึงก็ต้องพิจารณาให้ดี ที่จะรวบการใช้งานเข้าด้วยกันและทำงานได้อย่างราบรื่น
โดยข้อมูลทั้งหมด มาจาก gartner ที่วิเคราะห์เอาไว้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผมมองว่าเทรนด์บางอย่างก็ไม่ได้แจ้งเกิดในบ้านเรา แต่ก็ควรจะรู้เทรนด์เอาไว้ สำหรับเตรียมตัวและเตรียมพร้อมที่จะวางแผนและก้าวไปในอนาคต สำหรับคน IT อย่างเราๆ โดยเฉพาะ IT ที่ต้องซัพพอร์ทในองค์กร อันนี้ผมเรียกว่าคนทำงานแบบปิดทองหลังพระ จริงๆ 
อ้างอิงจาก gartner ภาพประกอบบทความจาก google.com

ไม่มีความคิดเห็น